ที่มาของคำว่าขนมจีน
ขนมจีน หรือ ขนมมอญ นับเป็นเรื่องที่น่าคิดเพราะตามที่ได้ยินมาใครๆ มักจะพูดว่า "ขนมจีน"ไม่น่าจะใช่อาหารของจีนอยู่ แล้วและบทความส่วนใหญ่ก็มักจะพูดถึงคำนี้อยู่เสมอว่าน่าจะมาจากภาษามอญ"ขนมจีน"น่าจะเป็นภาษา อะไรกันแน่ และคนมอญมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมการทำหรือการกินขนมจีนแค่ไหน ชาวมอญ ทั่วไปนิยมรับประทานขนมจีนไม่เฉพาะแต่ในเทศกาลเท่านั้นในบางครั้งก็ยังมี การทำกินกันเองเป็นการรวมญาติหรือว่าเวลาวิดปลาขึ้นมาแล้วได้ปลาเยอะก็จะมีการทำน้ำยากินกัน คำว่า "ขนมจีน" มอญเรียกว่า "คนอม" เป็นกริยาแปลว่า ทำ,สร้าง(ในพจนานุกรมภาษามอญ-อังกฤษ ที่รวบรวมโดยR. Halliday ได้ให้ความหมายว่า "form") ส่วนคำว่า"จีน" ที่อยู่ข้างหลังคำว่า"ขนม"นั้นไม่มีใช้ในภาษามอญมีแต่คำว่า"จิน"ซึ่งแปลว่าสุก(จากการหุงต้ม) สิ่งที่น่าสังเกตคือคนมอญนั้นจะเรียกขนมจีนว่า"คนอม"เฉยไม่ใช่คนอมจินเราจะพบได้จาก บทความต่างๆทั่วไปซึ่งกล่าวถึงเรื่องเล่าเกี่ยวกับความเป็นมาของคำ"คนอมจิน"ว่าขณะที่คนมอญกำลังทำ"คนอม" อยู่ ก็มีคนไทยเดินมาและร้องถามว่า กำลังทำอะไรอยู่คนมอญตอบเป็นภาษามอญ ว่า"คนอมจินโก๊กเซมเจี๊ยะกัม"แปลว่าขนมจีนสุกแล้วเรียกคนไทยมากินด้วยกันและจากนั้นเป็นต้นมา คนไทยก็เรียกอาหารชนิดนี้ว่า "คนอมจิน" และเพี้ยนมาเป็น "ขนมจีน"
คนอม หรือ ขนมจีน
เส้นคนอม หรือ ขนมจีน